ส่งเสริมคณิตคิดสนุกให้กับลูกได้ที่บ้าน 5 Months, 1 Week ago
เมื่อ 24 ส.ค.51 ได้มีโอกาสฟังบรรยายหัวข้อ ?ผู้ปกครองกับการส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยตนเองที่บ้าน? โดยอาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จาก ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ท้องฟ้าจำลอง ซึ่งจัดโดย สสวท. แหะ แหะ พ่อแม่ไม่เก่งคณิต ก็เลยอยากจะหาตัวช่วยให้ลูกเก่งคณิตค่ะ ไปฟังแล้วก็เก็บเอามาใช้และเพื่อไม่ให้เสียหลายก็เลยเรียบเรียงเอามาเผยแพร่ต่อค่ะอ.สุรัชน์เห็นว่า เด็กไทยคิดคำนวณเลขเก่ง แต่ยังขาดการให้เหตุผล (ก็ได้ยินข่าวชนะเลิศคณิตศาสตร์โอลิมปิคทุกปีเนอะ) พ่อแม่สามารถช่วยลูกฝึกคิดหาเหตุผลได้โดยการชวนคุย หมั่นนำสิ่งรอบตัวที่เห็นในชีวิตประจำวันมาตั้งคำถามเพื่อฝึกคิด แต่คำตอบจะผิดหรือถูกยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ (เช่น ชี้ให้ดูโลโก้หรือป้ายตามข้างถนนที่เป็นตัวเลขหรือรูปทรงเรขาคณิต เห็นเตาขนมครกยังใช้ตั้งคำถามได้เลย) แนวคิดเรื่องฝึกคิดนี่เห็นด้วยเต็มที่เลย ถ้าพ่อแม่ฝึกคิดให้ลูกอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าจะช่วยพัฒนาสมองลูกน้อยได้แน่ ๆ จำได้ไหมพอลูกเริ่มพูดเก่งชอบถามว่า ?นี่อะไร? และก็พัฒนามาสู่ ?ทำไม...? ยังจำความปวดหมองในการหาคำตอบได้ดี ถ้าเรายังฝึกคิดให้ลูกอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดให้รู้จักหาคำตอบได้เองเมื่อโต เจ้าหนูจำไมคงจะได้เป็นอะไรซักอย่างที่พ่อแม่ภูมิใจมากตอนโตละเนอะเนื้อหาที่โรงเรียนที่อัดแน่นทำให้เด็กๆ ไม่ค่อยได้ทำกิจกรรม เช่น เรื่องชั่ง ตวง วัด เด็กไม่เคยได้สัมผัสของจริง ทำให้ขาดทักษะส่วนนี้ไปซึ่งจำเป็นต่อการเรียนคณิตฯ นอกเหนือจากเรื่องบวก ลบ คูณ หาร เท่านั้น อ.ได้ยกตัวอย่างถึงกิจกรรมทำอาหารในครัวกับลูกเช่น ในการทำเยลลี่ ลูกจะได้เรียนว่าต้องตวงน้ำใส่เท่าไหร่ ถ้าเกิดใส่น้ำมากไป น้อยไป เยลลี่มันจะมีหน้าตาเป็นยังไง ส่วนผสมขนาดไหนถึงจะได้เยลลี่อร่อยที่สุด ฟังมาถึงตรงนี้จึงได้ถึงบางอ้อเริ่มเข้าใจจุดประสงค์ของคอร์สทำอาหารสำหรับเด็กที่เคยเห���นแถวเสรีเซ็นเตอร์แล้วหละ ทีแรกก็งงว่ามีคอร์สแบบนี้ด้วยเหรอ ทีนี้เข้าใจแล้วว่านอกจากเด็กจะได้กินอาหารอร่อยฝีมือตัวเองแล้ว ยังได้ความรู้เรื่องชั่ง ตวง วัดเป็นของแถมอีกนั่นเอง ยังหันไปกระซิบกับลูกด้วยง่ะว่า ริวจำได้ป่าวอาทิตย์ก่อนโน้นทำไมเยลลี่มันไม่แข็งซะที ก็เราใส่น้ำเยอะไปเพราะอยากได้เยลลี่อันใหญ่ มันเลยไม่แข็งน่ะสิอ.สุรัชน์กล่าวว่าพ่อแม่จะมีส่วนช่วยสร้างทัศนคติที่ดีกับคณิตศาสตร์ให้กับลูกหลาน ถ้าเด็กรู้สึกสนุกก็จะไม่มองว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องน่าเบื่อ การทำให้คณิตศาสตร์เป็นกิจกรรมของครอบครัว ทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนานกับการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน เด็กจะซึมซับมากขึ้น เกิดความรักและตั้งใจเรียนวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น นำไปสู่ความสนใจในคณิตศาสตร์ที่สูงขึ้นไป ไม่ใช่เรียนไปเพื่อการสอบแข่งขันเท่านั้นในการเล่นกับลูก พ่อแม่สามารถใช้เกมไพ่ มาเล่นกับลูกได้ ให้ลูกรู้จักการบวกเลข เป็นการ ฝึกทักษะของเด็ก เช่น การผสม 10 , ผสม 11 นำมาพลิกแพลงให้เด็กได้ฝึกการบวกเลข เด็กจะรู้สึกอยากเอาชนะ ซึ่งเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งเวลาไปซื้อของที่ตลาดให้ลูกมีส่วนร่วมว่าจะซื้ออะไร ราคาเท่าไหร่ ตอนท้ายอ.สุรัชน์โชว์หนังสือสำหรับพ่อแม่สำหรับฝึกฝนคณิตศาสตร์ให้ลูก สื่อการเรียนการสอน รวมทั้งแนะนำเวปไซต์ของสสวท.ให้เข้าไปดูกัน สรุปดังนี้ค่ะตัวอย่างของเล่นที่สามารถนำไปใช้ฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ธรรมชาติรอบตัว เช่น กลีบดอกไม้ในสวน ให้เด็กได้ฝึกนับกลีบ หรือเรียนรู้เรื่องสถิติว่าดอกไม้แต่ละชนิดปกติมีกี่กลีบแต่ที่ไม่ปกติก็มี เช่น ดอกเข็มส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่ที่มี 5 กลีบหรือ 6 กลีบก็มีนะรูปทรงเรขาคณิต พบเห็นได้จากเครื่องเล่นเด็กทั่วไป ช่วยกันนับว่ามีรูปสามเหลี่ยม กี่รูป รูปสี่เหลี่ยมกี่รูป ลูกฟุดบอลเกิดจากรูปทรงเรขาคณิต 5 เหลี่ยมหรือ 6 เหลี่ยมหลายรูปมาต่อกัน นับว่ามีกี่รูปหรือช่วยกันหาพื้นที่ผิว การนับล้อรถจักรยานเพื่อท่องสูตรคูณแม่ 2 พวกรูปโลโก้ของบริษัทห้างร้านต่าง ๆ มักจะเป็นรูปทรงเรขาคณิต พ่อแม่ก็ชี้ชวนให้ลูกดูรูปทรง 2 มิติกับ 3 มิติ เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ได้จากกล่องกระดาษใส่ขนมหรือของเล่น ให้ลองแกะออกดูว่าเขาทำอย่างไรถึงกลายเป็นกล่องกระดาษได้ เป็นพื้นฐานในการคำนวณหาพื้นที่และปริมาตร และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ขั้นสูงเกมส์ต่าง ๆ เช่น ไพ่ ผสม 10 ผสม 11 ผสม 12 ไพ่แต้มสุงใครมีแต้มมากสุดก็ชนะ เกมทายตัวเลข เช่น ทายตัวเลข อาจใช้วิธีตอบว่าใช่/ไม่ใช่ หรือบอกว่าตัวเลขที่คิดไว้มากกว่าหรือน้อยกว่าตัวเลขที่ทายออกมา การแข่งกันนับเลข1-20 ใครพูด 20 เป็นคนแพ้ เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า ซึ่งจะทำให้เด็กชอบเพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อเล่นไปหลาย ๆ รอบเด็กจะเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองถึงกลยุทธ์ที่ช่วยให้ชนะได้ง่ายขึ้นหนังสือ สื่อและเทคโนโลยีการเรียนการสอนเพื่อเสริมทักษะทางด้านคณิตศาสตร์อ.สุรัชน์แนะนำว่าเดี๋ยวนี้มีสื่อที่น่าสนใจให้เลือกมากมายทั้งจากหนังสือ คอมพิวเตอร์ รวมทั้งเวปไซต์ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ผู้ปกครองต้องหมั่นค้นหาเพิ่มเติมและนำมาสอนลูกหลานด้วยตัวเอง
วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เพลง นับหนึ่งถึงสิบ
นับหนึ่ง สอง สาม สี ห้า...
นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้ว นับจงอย่ารีบ นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ
นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้ว นับจงอย่ารีบ นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น